ส่งเสริม ปลูกทุเรียน พันธุ์พื้นเมืองไทย หลายสายพันธุ์

ทุเรียน พันธุ์พื้นเมืองของไทย ในปัจจุบันมีเป็น 100 สายพันธุ์ ทุเรียนพันธ์ท้องถิ่น เช่น ทุเรียนเมืองนนท์ ทุเรียนนกกระจิบ ทุเรียนพวงมณี ทุเรียนหลงลับแล ทุเรียนสาลิกา

ความหลากหลายของทุเรียนไทย พันธุ์พื้นเมือง มีรสชาติ ความอร่อย กลิ่น คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันที่หลากหลายมาก มีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ที่มีความน่าสนใจมาก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นอย่างดี หรือมูลค่าสูงกว่าทุเรียนทั่วไป 2-3 เท่าตัว

เร่งส่งเสริม ทุเรียนพื้นเมือง 100 สายพันธุ์

นางดวงกมล เจียมบุตร โฆษกประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะ ส่งเสริมให้เกษตรกรโปรโมตความอร่อย หรือสร้างเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนพันธ์ท้องถิ่น และพันธุ์ที่ผลิตมาใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคตามตลาดต่างๆมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า หรือมูลค่าสูงกว่าทุเรียนทั่วไป 2-3 เท่าตัว เนื่องจากพันธุ์ดังๆ หลายพันธุ์ เช่น หมอนทอง ที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ประกอบกับเกษตรกรในเวียดนามและ จีน ก็หันมาปลูกพันธ์ดังกล่าวเช่นกัน จนผู้บริโภคบางตลาดโดยเฉพาะจีน เริ่มให้ความสนใจมารับประทานทุเรียนพันธุ์อื่นมากขึ้น เช่น ก้านยาว เป็นต้น

ส่งเสริม ปลูกทุเรียน พันธุ์พื้นเมืองไทย หลายสายพันธุ์

สำหรับพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองของไทยในปัจจุบันมีเป็น 100 สายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่มีการโปรโมตจนเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นอย่างดี เช่น ทุเรียนเมืองนนท์ ซึ่งมีการขายกันลูกละ 10,000 บาท, พันธุ์นกกระจิบ จ.จันทบุรี, พวงมณี จ. จันทร์บุรี ราคากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท, ทุเรียนหลงลับแล จ.อุตรดิตถ์ ราคา 300-500 บาทต่อกิโลกรัม  หรือทุเรียนพันธุ์สาลิกา ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติหวานแหลม เนื้อละเอียด กลิ่นหอม ต้นฉบับแท้ๆ จ. พังงา เป็นต้น

“ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในไทยปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 100 พันธุ์ ซึ่งคงต้องคัดเลือกมาบางส่วน เพราะยอมรับว่าหลายๆพันธุ์ มีความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ แต่เป็นเพราะมีลูกเล็กหรือติดลูกยากไม่เหมือนกับทุเรียนหมอนทอง ทำให้ชาวสวนหลายพื้นที่ได้ยกเลิกแล้วหันไปปลูกพันธุ์ที่ปลูกง่ายและผลผลิตสูง

แต่หากมีการส่งเสริมผลักดันให้ชาวสวนหันมาสนใจพันธุ์พื้นเมืองและโปรโมตให้ดี เชื่อว่าจะช่วยสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรเป็นอย่างดี ซึ่งตอนนี้ หลายพื้นที่ก็ดำเนินการ โดยการนำ ทุเรียนนกกระจิบโมเดลของ จ.จันทบุรี ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

ที่มา : เดลินิวส์